ทริปทางวัฒนธรรมไทดำ ฮานอย เมืองลอ(เหงียะโละ) มูกางจ่าย เมืองลา(เซินลา) เมืองวาด(เอียนโจว)และหมกโจว (5 วัน 4 คืน 19-23 กันยายน 2567)

เชื่อมโยงสานสัมพันธุ์พี่น้องไทดำ ชมนาข้าวขั้นบันไดห้วงเวลาที่สวยที่สุด

ค่าบริการราคา 19,998.- ไม่รวมค่าทิปไกด์ และคนขับรถ

รายละเอียดโปรแกรมทัวร์

วันที่ 19 กันยายน 2567 : บินดอนเมือง – ฮานอย เยือนเมืองลอ

04:00 น. พบกันที่สนามบินดอนเมือง เพื่อเช็คอินสายการบินแอร์เอเชีย
06.40 น. บินกรุงเทพ(ดอนเมือง ) – ฮานอย (เช้า)แอร์เอเชีย (ขาไป 06.40-08.30น. ขากลับ 20.55-22.45น.)
08:30 น. เดินทางถึงสนามบินนานาชาตินอยบ่าย ฮานอย
09:15 น. เดินทางต่อไปไปเมืองลอ หรือเหงียะลอ จังหวัดเอียนบ๊าย

12:00 น. รับประทานอาหารกลางวันและเช็คอินเข้าโรงแรม
13:00 น. เยี่ยมชม หมู่บ้านไทดำ เมืองลอ และเดินทางไปน้ำตกตาดผีไฟ

เมืองลอ Nghia Lo จังหวัดเอียนบ๋าย  สถานที่สุดท้ายบนโลกมนุษย์ ที่ส่งวิญญานคนไทดำกลับสู่เมืองฟ้าเมืองแถนผ่านเขากุมเขางอ

ที่ราบหุบเขา เมืองลอ : เป็นหนึ่งในสี่หุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ที่สําคัญในเวียดนามตะวันตกเฉียงเหนือ (ได้แก่ที่ราบเมืองแถง ที่ราบเมืองเติ๊ก ที่ราบเมืองถาน และที่ราบเมืองลอ) ประชากรชาวเมืองลอ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำเป็นหลัก พวกเขาปลูกชาเขียว:

เยี่ยมชมเขาชาเขียวชอุ่มใน Thanh Son และเดินเล่นผ่านหมู่บ้านชาติพันธุ์ ไทดำกับบ้านไม้แบบดั้งเดิม ตลาดท้องถิ่น Nghia Lo: ตลาดที่มีชีวิตชีวาแสดงสินค้าและสินค้าในท้องถิ่น

สำหรับคนไทดำ ตาดผีไฟ เป็นสถานที่หนึ่ง ที่น่าสนใจ เพราะเป็นสถานที่ส่งดวงวิญญาน

ผู้ตาย ไปสู่เมืองฟ้า เมืองแถน(สรวงสวรรค์) ผ่านเขากุมเขางอ สถานที่แห่งนี้เป็นรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์ กับเมืองแถนบนฟ้า (หรือสรวงสวรรค์)  ไปเยี่ยม เมืองลอแล้วการได้ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ก็น่าสนใจ ชมการฟ้อนรำของสาวๆ ไทดำ เมืองลอ พร้อมกันไปด้วย

17:30 น. รับประทานอาหารเย็น เป็นอาหารพื้นเมืองไทดำ ที่โรงแรมเมืองลอ

ระหว่างรับประทานอาหารเย็น พบผู้นำไทดำเมืองลอ และเสวนาแลกเปลี่ยนกับผู้นำไทดำ  

พร้อมร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ชมการแสดง การฟ้อนรำของสาวๆ ไทดำ เมืองลอ

19:00 น. พัก โรงแรมเมืองลอ  ระดับ 4 ดาว

วันที่ 20 กันยายน 2567 : เมืองลอ - มูกางจ่าย ( Mu Cang Chai) เที่ยวชมนาขั้นบันไดที่สวยที่สุดในเวียดนาม(ติด 1 ใน10 นาขั้นบันไดที่สวยที่สุดในโลก) ในห้วงเวลาที่นาข้าวแบบขั้นบันไดสวยที่สุด(ข้าวกำลังเหลืองอร่าม)

06:00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมที่พัก

07:00 น. เดินทางจากเมืองลอ ไปมูกางจ่าย (Mu Cang Chai)

12:00 น. เดินทางถึงมูกางจ่าย รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านอาหาร Nhà hàng  Thng Dung

12:30 น. เที่ยวชมนาขั้นบันไดที่สวยที่สุดในเวียดนาม  ในห้วงเวลาที่นาข้าวแบบขั้นบันไดสวยที่สุด

📍มูกางจ่าย Mu Cang Chai: เที่ยวชมหมู่บ้าน Tu Le: เดินผ่านหุบเขา สัมผัสกับบ้านไม้ไทยและชีวิตในท้องถิ่น เยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ มูกางจ่าย  เช่น

Khau Pha Pass: เสนอทัศนียภาพของระเบียงข้าวแบบพาโนรามา La Pan Tan Rice Terraces: ตํานานสําหรับความงามอันน่าทึ่งของพวกเขา เหมาะสําหรับการถ่ายภาพ

Mam Xoi: อีกหนึ่งสถานที่ที่สวยงามพร้อมระเบียงข้าวที่น่าทึ่ง Che Cu Nha, Kim Noi, De Xu Phinh Villages: มีชื่อเสียงในเรื่องระเบียงข้าวที่งดงามได้รับการยอมรับว่าเป็นมรดกของชาติ

เที่ยวชมหมู่บ้านม้ง (H’mong)เยี่ยมชมหมู่บ้านที่สูงและพบกับชาวม้ง H’mong ที่รู้จักกันในเรื่องช่างตีเหล็กและการทอผ้าของพวกเขา หมู่บ้านนาทาม: บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวลื้อ(ผู้ไท)และลู่ เป็นที่รู้จักกันในเรื่องคนไทฟันดําแบบดั้งเดิมและเสื้อผ้าสีพื้นเมืองของพวกเขา(ไปเยี่ยมชมตามความเหมาะสมของเวลา)

17:30 น. รับประทานอาหารเย็น ที่ร้านอาหาร Nhà hàng Thùy Linh

18:30 น. เดินทางเข้าที่พัก คืนนี้พักที่โรงแรมใน มูกางจ่าย (โรงแรมMoon2 โรงแรมท้องถิ่น ที่สะอาด)

วันที่ 21 กันยายน 2567 มูกางจ่าย –เมืองลา –เมืองวาด (เอียนโจว)

06:00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมที่พัก

07:00 น. ออกเดินทางไปยัง เมืองวาด(Yen Chau) ผ่านถนนที่สวยงามของเนินเขา ทิวเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือและบ้านเรือนของหมู่บ้านชาติพันธุ์ไทและม้ง

12:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่เทศบาลเมืองลา เมืองเอกของจังหวัดเซินลา

13:00 น. ออกเดินทางต่อไปยัง เมืองวาด(Yen Chau)

14:00 น. เดินทางถึงเมืองวาด หรือเมืองวัด (Yen Chau) เยี่ยมชมหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำที่เมืองวาด/เมืองวัดซึ่งชุมชนชาติพันธุ์ไทยดำที่นี่มีขนบธรรมเนียมและการปฏิบัติมากมายที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดิน ภูเขา น้ำแม่ ต้นน้ำ
เยี่ยมชุมแลกเปลี่ยนภาษาพูด วัฒนธรรม ประเพณี การแต่งกาย

ที่บ้านนาหง่า ตำบลเชียงฮัก อำเภอเอียนโจว (เมืองวาด) จังหวัดเซินลา  มีประเพณี ที่ขึ้นชื่อในเรื่อง การทอผ้า โดยเฉพาะซิ่นลายแตงโม (ปัจจุบันเหลือน้อยแล้ว)  การเสนเรือน และการแห่โตเงือก ในพิธีเสนสอฝน ของชาวไทดำ

ชาวไทดำ บ้านนาหง่า ยังคงนับถือแถน และผีบรรพบุรุษ ตลอดจนมีคติความเชื่อเรื่อง “โตเงือก” หรือที่คนไทยในประเทศไทยเรียกว่า “นาค” อย่างเหนียวแน่น หากปีไหนเกิดฝนแล้ง ชาวไทดำจะจัดพิธี “เสนสอฝน”

“เสน คือ การเซ่นสรวง เซ่นไหว้ สังเวย  “สอ” คือ ขอ “เสนสอฝน” คือ การเซ่นสรวงสังเวยโตเงือกเพื่อขอฝน

พิธีเสนสอฝน มิใช่ประเพณีประจำปี แต่จะจัดขึ้นเฉพาะปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือเกิดภาวะแห้งแล้ง ในราวเดือน 3-4 ตามปฏิทินไทดำ (ประมาณเดือน เมษายน) ใช้เวลา 1 วัน 1 คืน

18:00 น. รับประทานอาหารเย็นที่เมืองวาด

พักค้างคืนที่ เมืองวาดYen Chau จังหวัด Son La

วันที่ 22 กันยายน 2567 เมืองวาด (เอียนโจว)- เมืองหมอก เมืองสาง เที่ยวชมสะพานกระจก ที่ยาวที่สุดในโลก

07:00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมที่พัก
08:00 น. เดินทางจากเมืองวาด ไปเมืองหมอกเมืองสาง หรือ หมกโจว
12:00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่เมืองหมกโจว

13:00 น.  เที่ยวสะพานกระจกหมกโจว แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดในเวียดนามที่ขึ้นชื่อกับสถิติสะพานกระจกที่ยาวที่สุดในโลก !

ท้าความสูงแบบไม่กลัวเสียว! กับที่เที่ยวแห่งใหม่ในเวียดนามเหนือ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นาน นั่นก็คือ สะพานกระจกบาจลอง (Bach Long Glass Bridge) สะพานกระจกแห่งใหม่ล่าสุดในเวียดนาม กับสถิติ สะพานกระจกที่ยาวที่สุดในโลก! ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่บอกเลยว่า วิวสวยมาก! ไปเช็คอินที่เที่ยวแห่งใหม่ ท้าทายความกลัวของตัวเอง

สะพานกระจกบาจลอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองสาง (เวียดนามออกเสียงเหมื่องซาง) อำเภอหมกโจว (Moc Chau) จังหวัดเซินลา (Son La) เป็นเมืองที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาในเวียดนามเหนือ เป็นสะพานกระจกแห่งใหม่ ในเวียดนาม เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยชื่อของสะพานบาจลอง  มีความหมายว่า มังกรขาว เนื่องด้วยมาจากวัสดุที่ใช้ทำสะพานมีสีขาวนั่นเอง

ความน่าทึ่งของสะพานแห่งนี้ก็คือ เป็นสะพานกระจกที่ยาวที่สุดในโลก โดยมีความยาวถึง 632 เมตร ทุบสถิติสะพานกระจกในประเทศอื่นๆ ซึ่ง Guinness World Records (GWR) ได้มอบใบรับรองสถิติโลกเรียบร้อยแล้ว

สำหรับทางเดินบน สะพานกระจกบาจลอง จะแบ่งเป็นช่วงระเบียงกระจกริมหน้าผา และสะพานแขวนกระจก โดยในส่วนของตัวสะพานแขวน มีความยาว 250 เมตร กว้าง 2.4 เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ 150 เมตร กระจกที่ใช้ทำสะพานแก้วเป็นกระจกนิรภัยนำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส มีความแข็งแรง ปลอดภัย รองรับนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 450 คน

ตัวสะพานทอดยาวเชื่อมภูเขาสองลูก สุดปลายทางของสะพานแก้วจะมีถ้ำจิมเถิ้่น หรือที่เรียกกันว่า

ถ้ำเหมืองหมอก ที่ภายในมีหินงอกหินย้อยธรรมชาติที่สวยงามราวกับประติมากรรมศิลปะ และจากบริเวณสะพานแก้ว เราจะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามของป่าหมกโจว หุบเขาที่สลับซับซ้อนกัน ชมวิวได้แบบรอบทิศทาง รวมถึงที่พื้นด้านล่างผ่านกระจกใส และในช่วงกลางคืนยังมีการเปิดไฟสวยๆ อีกด้วย

17:00 น. รับประทานอาหารเย็น (มื้อที่ 12) พร้อมชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแห่งหมกโจว (เมืองสาง) ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทหลากหลายกลุ่ม เช่น ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทวาดและผู้ไท

19:00 น. พักโรงแรมเมืองแทง หมกโจว  (Mường Thanh Mc Châu Hotel ) หรือเทียบเท่า 4 ดาว

วันที่ 23 กันยายน 2567 เมืองสาง(หมกโจว) ชมสวนดอกไม้และไร่ชา เดินทางกลับฮานอย และบินกลับกรุงเทพ โดยสายการบินแอร์เอเชีย

07:00 น.  รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมเมืองแทง (มื้อที่13)

08.30 น. เที่ยวไร่ชาและทุ่งดอกไม้ เมืองหมกโจว (Moc Chau)

เมืองหมกโจว (Moc Chau) เมืองที่อยู่ท่ามกลางหุบเขา อากาศบริสุทธิ์และมีความงดงามของธรรมชาติ เป็นเมืองในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม เมืองที่มีอากาศเย็นสบายๆ ตลอดทั้งปี และด้วยเหตุนี้ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งเพาะปลูกดอกไม้นานาชนิด จนได้รับฉายาว่า “เมืองแห่งดอกไม้นานาพันธุ์”

เมืองหมกโจว เมืองแห่งไร่ชาและทุ่งดอกไม้ เสน่ห์ของเมืองหมกโจว อยู่ตรงที่นอกจากไร่ชาจะสวยงามแล้วแล้วยังมีดอกไม้นานาชนิด มีดอกพรุน ดอกท้อสีขาวจะบานสะพรั่งอวดสี และดอกกาหลงซึ่งถือเป็นดอกไม้ประจำเมืองหมกโจว

ช่วงฤดูหนาวดอกกาหลงจะเบ่งบานไปทั่วบริเวณหุบเขาหมกโจว สีขาวบริสุทธิ์ของดอกกาหลง ชาวบ้านเปรียบเทียบดอกกาหลงเสมือนสาวกลุ่มชาติพันธุ์ไทอันหลากหลายกลุ่ม (ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทวาดและผู้ไท) ที่สวยงามแบบธรรมชาติ แต่มีเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวจากแดนไกล ดอกกาหลงถือเป็นดอกประจำเมืองหมกโจว จึงทำให้มีโครงการปลูกต้นกาหลงตามถนนสายต่างๆ

12:00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่เมืองหมกโจว(มื้อที่ 14)

13.00 น. อำลา เมืองสาง สู่สนามบินนอยบาย ฮานอย เพื่อเดินทางกลับ กรุงเทพมหานคร

17:00 น. รับประทานอาหารเย็น(เฝ๋อ) มื้อ ที่ 15  ที่ภัตาคาร สนามบินนอยบาย
20.50-22.40 น. บินสายการบินแอร์เอเชีย เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

จบทริปการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 5 วัน 4 คืน สืบรากเหง้าและย้อนรอยยังดินแดนแห่งบรรพชน ไทดำ เมืองลอ มูกางจ่าย  เมืองลา เมืองวาด และชมสะพานกระจกที่ยาวที่สุดในโลกแห่งเมืองสาง (หมกโจว) บินกลับฮานอย- กรุงเทพ ด้วยความปลอดภัยและประทับใจ

ค่าบริการราคา 19,998.- ไม่รวมค่าทิปไกด์ และคนขับรถ

การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสืบรากเหง้าและย้อนรอยยังดินแดนแห่งบรรพชนไทดำ

การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม​

การจัดท่องเที่ยวแบบนี้  มีความพิเศษตรงที่นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับการศึกษาหาความรู้ผ่านเรื่องเล่า ตำนาน นิทาน และประวัติความเป็นมาของพื้นที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

ทริปนี้

🖝 ฟังตำนานน้ำเต้าปุง ที่หนองฮกหนองฮาย  ตำนานขุนบรม ตำนานปู่เยอญ่าเยอ (หนองอูวา) กับความเป็นมาของนาน้อยอ้อยหนู จากเมืองลอ สู่ เมืองแถน

🖝ฟังตำนานเมืองแถง เมืองลอ เมืองลา เมืองหม่วย เมืองวาดและเมืองสาง

🖝ฟังตำนาน/ประวัติศาสตร์ ไทดำรบชนะผู้ไทที่เมืองแถน (นาน้อยอ้อยหนู) และต่อมาไทดำได้ตั้งเมืองขึ้นมาใหม่ เรียกเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) การที่ไทดำรบชนะผู้ไทที่เมืองแถนหรือนาน้อยอ้อยหนู เป็นสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้ผู้ไทกลุ่มใหญ่ อพยพมาคำม่วนและสะหวันนะเขต (ผ่านทางหัวพัน) สปป.ลาว และได้อพยพมาอยู่ในเขตประเทศไทยในเวลาต่อมา

การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมีความพิเศษกว่าการเดินทางท่องเที่ยวโดยทั่วไป ความสนใจ แรงดึงดูดใจ ของการท่องเที่ยวแบบนี้ จึงอยู่ที่คุณลักษณะที่การให้ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของบ้านเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ งานเทศกาล งานเฉลิมฉลอง พิธีกรรม และศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การแสดง รวมทั้งสินค้าพื้นเมือง อาหารการกินพื้นเมือง เครื่องแต่งกาย อาคารบ้านเรือน ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ มักจะแฝงอยู่ในเรื่องเล่า ตำนาน หรือนิทาน ด้วยทริปนี้

🖝ฟังตำนาน เรื่องเล่า จุดก่อกำเนิดไทดำในเวียดนามที่เมืองลอ และตำนาน การส่ง “ผีขวัญ” กลับเมืองฟ้าเมืองแถง ที่น้ำตกตาดผีไฟ แห่งเมืองลอ

🖝 รับประทานอาหารพื้นเมือง กับพี่น้อง พร้อมเหล้ายาดองสมุนไพรพื้นเมือง สูตรพิเศษ

🖝 ลิ้มรสเหล้าพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง กับพี่น้องไทดำ
🖝 ชมการแสดงและฟ้อนรำพื้นเมืองกับพี่น้องไทดำ 2 เมือง ไทเมืองลอ และไทเมืองสาง

🖝ร่วมถ่ายภาพกับสาวไทดำเมืองลอ เมืองวาด และเมืองสาง ที่แต่งชุดพื้นเมือง

🖝ชมความงามทางธรรมชาติ ของบ้านเมืองคนไทในเวียดนาม เมืองลอ เมืองวาด และเมืองสาง(เมืองหมกโจว)

789​ AsiaTravel ให้ความสนใจกับการจัดการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเรียนรู้จากวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่กว้างไกล

จากการมีประสบการณ์ในแหล่งวัฒนธรรมที่คงเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นนั้นๆ การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์จึงมีส่วนทำให้นักท่องเที่ยว ได้รับความรู้ ความเข้าใจ วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนผ่านประสบการณ์ การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับชุมชน

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวได้มีปฏิสัมพันธ์ ทำให้ได้ความรู้ ได้รับคุณค่า พร้อมได้รับ ความเพลิดเพลิน ความบันเทิง จากการท่องเที่ยวในบริบทของมรดกทางวัฒนธรรมนั้นๆ  ทั้งนี้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ จะเน้นการสะท้อนถึงความมีชีวิต วิถีชีวิต และการถ่ายทอดอย่างเป็นรูปธรรม จนทำให้สถานี่ หรือแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและดึงดูดใจ

ทริปทางวัฒนธรรมไทดำ เยือนดินแดนแห่งบรรพชนไทดำ
ฮานอย เมืองลอ (เหงียะโละ) มูกางจ่าย เมืองลา(เซินลา) เมืองวาด(เอียนโจว)
เชื่อมโยงสานสัมพันธุ์พี่น้องไทดำ ชมนาข้าวขั้นบันไดห้วงเวลาที่สวยที่สุด
ชมทุ่งดอกไม้สวยงามเมืองหนาว และเที่ยวสะพานกระจกบาจลอง สะพานกระจกที่ยาวที่สุดในโลก
หากไม่มีเรื่องราวที่เป็นเรื่องเล่า ตำนานและนิทานในอดีตกาลแห่งชนชาติตน ให้ได้เล่าขาน คนเราและลูกหลานเราก็จะไม่มีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์และชนชาติของตน

" สำหรับใครก็ตามที่ให้ความสำคัญกับปัจจุบันและอนาคต
ประวัติศาสตร์และการสืบค้นหารากเหง้า ที่มาของตนเองจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ"

กวี หิว ถินห์ นายกสมาพันธ์สมาคมวรรณกรรมและศิลปะแห่งประเทศเวียดนามและนายกสมาคมนักเขียนแห่งเวียดนาม

กวี หิว ถินห์ นายกสมาพันธ์สมาคมวรรณกรรมและศิลปะแห่งประเทศเวียดนามและนายกสมาคมนักเขียนแห่งเวียดนาม ได้กล่าวไว้ในบทบรรณาธิการ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ขอให้ย้อนดูประวัติศาสตร์” ในหนังสือ “ดอกบัวบานในธารวรรณกรรม” รากเหง้าที่มาของบรรพชนเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกท่านควรรู้ หากไม่มีบรรพชนก็จะไม่มีตัวเราในวันนี้ ขอจงได้ตระหนักถึง คุณค่า ความหมาย ของชีวิต และความภาคภูมิใจในตนจากรากเหง้าประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ในชนชาติของตน เพราะไม่ว่า เราจะเป็นอะไร ก็จะไม่เป็นจริงเท่าเป็นตัวของเรา ที่สืบสายมาแต่บรรพชนได้เลย

ทริปเยือนเมืองแถน แดนแห่งบรรพชน ทริปทางวัฒนธรรม เที่ยวเมืองหลวงพระบาง เมืองไซ(อุดมไซ) และเมืองแถนเมืองลอ เมืองลา เมืองม่วย เมืองวาดและเมืองสาง(เมืองหมกโจว)ทริปนี้จึงมีความหมาย มีความสำคัญ ต่อคนไทย คนผู้ไท คนพวน คนไทดำและคนลาว จะขอยกบันทึกของ อ.สุจิตต์  วงษ์เทศ ว่าด้วย “เมืองแถน คนไทย กับ ผู้ไท” ดังนี้

…..

คนไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีบรรพชนสายหนึ่งโยกย้ายจากลุ่มน้ำโขง และมีส่วนเชื่อมโยงไปถึงผู้ไท
เมืองแถนเชื้อสายแถนในไทย นิทานกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุงกับเรื่องขุนบรม เล่าว่าขุนบรมเป็นเชื้อสายแถน
มีหลักแหล่งอยู่เมืองแถน แล้วขยายไปไทย ขุนบรมให้ลูกชาย 7 คน แยกครัวไปสร้างบ้านแปลงเมืองตามที่ต่างๆ บริเวณลุ่มน้ำโขงไปถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา เฉพาะในเขตประเทศไทยทุกวันนี้ มี 2 คน คือ ไสผงกับงัวอิน ไสผง
ไปสร้างเมืองโยนก ในล้านนา (ไส แปลว่า ลูกชายคนที่สี่) งัวอิน ไปสร้างเมืองอโยธยา ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
(งัว, งั่ว แปลว่า ลูกชายคนที่ห้า) ต่อมาผู้คนจากดินแดนโยนก เคลื่อนย้ายลงทางทิศใต้ ผ่านเมืองพะเยา เมืองแพร่ ลงทางแม่น้ำน่าน (มีในตำนานสิงหนวัติกุมาร)

เมื่อลงถึงเมืองอุตรดิตถ์ แล้วสร้างบ้านแปลงเมืองบริเวณลุ่มน้ำโพ (ไหลลงแม่น้ำน่าน) ทาง ต. ทุ่งยั้ง
มีพัฒนาการต่อไปเป็นประชากรรัฐสุโขทัยและรัฐอยุธยาในเวลาต่อมา แถน คือขุนแผน บริเวณภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรียกแถนด้วยสำเนียงไทย ลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า ขุนแผน (หมายถึงพระพรหม มีในโองการแช่งน้ำ) เพราะยังไม่คุ้นชื่อเทวดาที่เรียกด้วยภาษาสันสกฤต จึงเอาคำลาวดั้งเดิมที่คุ้นเคยมาใช้เรียกแทน แถนหมายถึง อำนาจเหนือธรรมชาติ (คือผี) ซึ่งถือเป็นบรรพชนของผู้ไท (ลาวเก่า) และคนในตระกูลลาวทั้งหลาย บางทีเรียกผีฟ้า, เจ้าฟ้า เพราะเชื่อว่าสิงอยู่บนฟ้า เป็นเจ้าใหญ่ของท้องฟ้า แล้วเชื่ออีกว่าเป็นผู้ควบคุมน้ำที่มีบนฟ้า ซึ่งปล่อยให้ตกลงมาเป็นฝน จึงมีนิทานจุดบั้งไฟขอฝนบนฟ้าจากแถน

ร่องรอยเก่าๆ เหล่านี้ เป็นพยานแวดล้อมแน่นหนาว่าบรรพชนคนไทยสายหนึ่งเกี่ยวดองกับผู้ไท และเผ่าพันธุ์ต่างๆ ทางลุ่มน้ำโขงโยงถึงลุ่มน้ำแดง-ดำ ในเวียดนาม
จากคอลัมนิสต์ สุจิตต์ วงษ์เทศ : คนไทย กับ ผู้ไท

เผยแพร่เมื่อ วันที่: 15 ม.ค. 59 เวลา: 19:00 น.
…..

ณ ที่เมืองแถนมีเรื่องราวเป็นตำนานเล่าขานกันมาเนิ่นนานแล้ว นานมา

ณ หนองฮกหนองฮาย ตามตำนานน้ำเต้าปูงที่นาน้อยอ้อยหนู หรือเมืองแถนโบราณ จังหวัดเดียนเบียน ประเทศเวียดนาม มีตำนานเล่าขาน

……………

ตามตำนานน้ำเต้าปุง บอกบรรพชนคนผู้ไท คนลาว(ลาวเก่า) และบรรพชนคนไทย เกิดมาแต่น้ำเต้าปุงเป็นเทวดา และนางฟ้าที่ลอยมาแต่ฟ้า มาอยู่ยังโลกมนุษย์ และได้มาอาบน้ำที่หนองฮกหนองฮาย แห่งนี้ ผิวพรรณจึงได้ผ่องใส สติปัญญาจึงได้ดี ตามตำนานบอกว่า ต่อมาขุนบรมจากเมืองแถน(หนองแส) ได้มาปกครองเมืองนาน้อยอ้อยหนู และได้สร้างเมืองแถนแห่งใหม่ ณ ที่แห่งนี้ขึ้นมา

ขุนบรมได้บอกสอนกับลูกหลานว่า…

ลูกหลานทั้งหลาย หากสูเจ้าอยากให้ตัวสูและบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปข้างหน้า ก็อย่าได้ลืมความแถน “กินข้าวให้บอกให้หมาย กินแลงกินงายก็ให้บอกกับไท้แถน กินเนื้อให้ส่งขา กินปลาก็ให้ส่งฮอยแก่ไท้แถนนั้น เป็นการย้ำไท้ย้ำแถน ย้ำผีเฒ่า ย้ำผีเจ้ายืนกลาย”

คำสอนขุนบรม จากนิทานไท้แถน

คนผู้ไท คนพวน คนลาว คนไทยและลูกหลานขุนบรม มีความเชื่อว่า การมีสำนึกรู้คุณบรรพชนและการรำลึกถึงหรือได้ไปเยือนดินแดนแห่งบรรพชน​ นั้นนำมาซึ่งความปิติ-มีความสุขเปี่ยมล้น มีผลทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต สร้างครอบครัว การทำงาน-ค้าขายให้กิจการเจริญรุ่งเรืองสืบไป….

หากไม่มีเรื่องราวที่เป็นเรื่องเล่า ตำนานและนิทานในอดีตกาลแห่งชนชาติตน ให้ได้เล่าขาน
คนเราและลูกหลานเราก็จะไม่มีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์และชนชาติของตน

ผมเชื่อเช่นนี้ครับ และผมยังเชื่อว่า ….

เมื่อใดที่เรายังสร้างประโยชน์ ให้กับตัวเอง และผู้อื่นได้ เราก็ยังมีคุณค่าในชีวิตอยู่เสมอ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งสิ่งที่มนุษย์ต้องการจริงๆ ไม่ได้มีแค่ “ความสุข สนุกสนาน” เท่านั้น หากแต่มนุษย์เรายังต้องการแสวงหาคุณค่า ความหมาย ของชีวิต และความภาคภูมิใจในรากเหง้า ความเป็นมาของบรรพชนเราอีกด้วย

การเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังมีส่วนช่วยให้มนุษย์ออกจากความทุกข์ ไปแสวงหาความหมาย คุณค่าของชีวิต และหาความสุขที่ลึกชึ้งยิ่งขึ้นได้ อีกด้วย

ทริปทางวัฒนธรรม สืบรากเหง้าและย้อนรอยยังดินแดนแห่งบรรพชน ไทดำ

“ไทยทรงดำ”  “ไทดำ”  “ไตดำ” “โซ่ง” “ลาวโซ่ง” “ลาวทรงดำ” “ผู้ไต” และ“ผู้ไทยดำ”  แม้จะเรียกต่างชื่อ แต่แท้จริงแล้วทั้งหลายล้วน คือ กลุ่มชาติพันธุ์ เดียวกัน

“ไทยดำ” “ผู้ไทยดำ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 เอกสารของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี บันทึกเหตุการณ์เมื่อคราวยกกองทัพขึ้นไปปราบฮ่อ และได้มีโอกาสเดินทางขึ้นไปถึงเมืองแถง ในบันทึกนั้นเรียกคนเมืองแถงว่าเป็น “ผู้ไทยดำ” ร่วมกับคำว่า “ลาวทรงดำ” ที่สยามคุ้นเคยมาก่อนหน้านี้ บางครั้งก็ใช้คำว่า “ไทยดำ” และเรียกเปรียบเทียบลาวทรงดำที่อพอพมาอยู่เมืองเพชรบุรีตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีด้วยอีกชื่อหนึ่งว่า “ลาวสีไม้” หรือ “ลาวโซ่ง” (พิเชฐ สายพันธ์ 2554, 12-13) ในเอกสารเก่าแก่ของไทดำในประเทศไทย ก็มีบันทึกเป็นชื่อ “ผู้ไทยดำ” อีกด้วย

 แสดงให้เห็นว่า คำว่า ลาวทรงดำ ลาวโซ่ง ลาวสีไม้ ผู้ไทยดำ และไทยดำ เป็นคำเรียกที่ปรากฏในเอกสารราชการสยามสำหรับเรียกคนกลุ่มนี้มาก่อน และทำให้คนกลุ่มนี้นำมาใช้เรียกตัวเองเมื่ออยู่อพยพย้ายมาอยู่ในดินแดนไทย โดยเฉพาะเรียกตัวเองว่าเป็น ลาวโซ่ง หรือเป็น ผู้ลาว ครั้นภายหลังจึงหันมาใช้คำว่า ไทยทรงดำ ที่เป็นคำที่นิยมอย่างเป็นภาษาราชการในปัจจุบัน

Black Thai หรือ Black Tai เป็นคำในภาษาต่างประเทศมาจากการแปลคำว่า Black ว่า สีดำ หรือบางครั้งก็แปลทับศัพท์โดยใช้คำว่า Tai Dam ตามการออกเสียงของคำว่า “ไทดำ”

คนไทภาคตะวันตกเฉียงเหนือเวียดนาม  เช่น ในเขตจังหวัดเดียนเบียน เซินลา ไลโจว ลาวกายและเอียนบ๋าย มีคนไทหลายหลายกลุ่ม เช่น ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทลื้อ ลาวลื้อ ลาวน้อย ลาวเก่า ผู้ไต ผู้ไย้  เกิ่นไท/ไต (เกิ่น คือคน) ไทหล้า ญ้อ และผู้ไท เป็นต้น

ไทดำและไทขาวหรือไทด่อน เป็นคนไทกลุ่มใหญ่ที่สุด 2 กลุ่ม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นระดับเมืองอยู่ทางตอนภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ซึ่งเดิมเคยถูกเรียกว่าเขตสิบสองจุไท โดยมาจากการประกอบเข้าด้วยกันของเมืองคนไท 12 เมือง แบ่งเป็นกลุ่มไทดำ 8 เมือง และไทขาว 4 เมือง(ก่อนแยกไปอยู่ในเขตแดนประเทศ เดิมมี 16 เมือง ต่อมาเมื่อแยกเขตแดนอยู่คนละประเทศ อยู่ในจีน 6 เมือง และอยู่ในเวียดนาม 10 เมือง ต่อมาในเวียดนามได้ตั้งเมืองใหม่อีก2 เมือง จึงกลายเป็น 12 เมือง เรียก 12 จุไท)โดยคนไทเหล่านี้มักจะเรียกชื่อตนเองตามเมืองหรือแม่น้ำที่อาศัยอยู่ เช่น ไทเมืองแถงไทเมืองไล ไทเมืองม่วย ไทเมืองวาด ไทเมืองสางเป็นต้น

ไทดำ เป็นกลุ่มไทดั้งเดิมที่อยู่อาศัยบรเวณลุ่มแม่น้ำดำ(หรือสงดา) เรียกตัวเองว่า ไทดำ ส่วนไทขาว เชื่อว่าเป็นชาวไทที่มีเชื้อสายผสมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ผู้ไย้ ผู้ไท้(ผู้ไทแต่เดิม) และจีนฮ่อ ไทดำและไทขาวหรือไทด่อน ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้และทิศตะวันออกของเมืองแถง(เดียนเบียนฟู)

แต่ในช่วงอาณานิคม ชาวยุโรปกลับแบ่ง กลุ่มตามสีสันของเครื่องนุ่งห่มที่สวมใส่ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ใส่ผ้านุ่งสีดำ คือไทดำ และนุ่งผ้าสีขาวหรือสีอ่อนคือไทขาวตั้งแต่นั้นมา  รวมทั้งเรียกกลุ่มที่ใส่เสื้อผ้าสีแดงเป็น ไทแดง

ไทขาวและไทดำ มีจุดร่วมทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะ การสร้างถิ่นฐาน ครอบครัว และชุมชน ที่อาศัยอยู่ตามเส้นทางแม่น้ำดำ อันเป็น สายน้ำใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนไทมานาน

ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิด ความเชื่อ สภาพแสดล้อมที่ส่งผลต่อการภูมิปัญญาของชาวไทดำ และไทขาว ในการสร้างหมู่บ้าน และเรือนที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตรวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัว พบว่าทั้งชาวไทดำและไทขาวนิยมสร้างเรือนไม้ยกพื้นสูง ใช้วัสดุใ

เรือนของชาวไทขาวพบว่าไม่มีพื้นที่ห้องผีชัดเจนมากนักเมื่อเทียบกับเรือนชาวไทดำ อีกทั้งผังเรือนชาวไทขาวมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยได้หลากหลายกว่าชาวไทดำ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับแนวคิดความเชื่อของชาวไทขาวที่เริ่มมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่น จึงเกิดการยืดหยุ่นมากกว่าชาวไทดำ
แต่ทั้ง ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทหล้า ผู้ไย้  ผู้ไต ผู้ไท ไทลื้อ ลาวลื้อ ลาวน้อย ต่างก็นับถือผีฟ้า ผีแถน เช่นเดียวกัน

การแห่โตเงือก ในพิธีเสนสอฝน ของชาวไทดำ

ที่บ้านนาหง่า ตำบลเชียงฮัก อำเภอเอียนโจว (เมืองวาด) จังหวัดเซินลา  มีประเพณี ที่ขึ้นชื่อในเรื่อง การทอผ้า โดยเฉพาะซิ่นลายแตงโม (ปัจจุบันเหลือน้อยแล้ว)  การเสนเรือน และการแห่โตเงือก ในพิธีเสนสอฝน ของชาวไทดำ

ชาวไทดำ บ้านนาหง่า ยังคงนับถือแถน และผีบรรพบุรุษ ตลอดจนมีคติความเชื่อเรื่อง “โตเงือก” หรือที่คนไทยในประเทศไทยเรียกว่า “นาค” อย่างเหนียวแน่น หากปีไหนเกิดฝนแล้ง ชาวไทดำจะจัดพิธี “เสนสอฝน”

“เสน คือ การเซ่นสรวง เซ่นไหว้ สังเวย  “สอ” คือ ขอ “เสนสอฝน” คือ การเซ่นสรวงสังเวยโตเงือกเพื่อขอฝน

พิธีเสนสอฝน มิใช่ประเพณีประจำปี แต่จะจัดขึ้นเฉพาะปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือเกิดภาวะแห้งแล้ง ในราวเดือน 3-4 ตามปฏิทินไทดำ (ประมาณเดือน เมษายน) ใช้เวลา 1 วัน 1 คืน

เริ่มจากผู้อาวุโสของหมู่บ้าน  ประชุมวางแผน แบ่งความรับผิดชอบในส่วนต่างๆเช่น การจัดการอาหารเครื่องเซ่นไหว้  การทำโตเงือก การตกแต่งลานพิธี  และคัดเลือกหญิงผู้ประกอบพิธีกรรม 3 อย่าง คือ ผู้เสน,  ผู้สอ(น้ำฝน), ผู้ขับ(ลำ)

ก่อนวันจริงหนึ่งวัน หญิงชาวบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ เช่น ปลาย่าง เหล้า ผัก เป็ด ไก่ ส้มผัก ส้มหมู ส่วนชายจะทำโตเงือกสำหรับแห่ในพิธี  โครงทำจากไม้ไผ่สาน ติดด้วยกระดาษสี ขนาดกว้าง 2 เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4 เมตร มีคานสำหรับแบก

เมื่อถึงวันงาน ก็จะเริ่มตีกลองรวมชาวบ้าน นางเสน นางสอ จะแต่งกายโดยนำเสื้อฮีกลับเอาด้านในออกมาไว้ข้างนอก แล้วห่มคลุมไว้ นำขบวนแห่ไปรอบหมู่บ้านเพื่อขอเครื่องเซ่นตามครัวเรือนต่างๆ โดยเฉพาะเรือนของต้นตระกูลและผู้ใหญ่ ประมาณ 15 หลัง

เมื่อมาถึงแต่ละเรือน นางเสนจะเป็นผู้กล่าวคำขอเครื่องเซ่น เป็นคำคล้องจอง  พรรณนาความทุกข์ยากของปีนี้ว่าน้ำท่าไม่อุดมสมบูรณ์ ต้นข้าว ผู้คนล้มตาย จึงได้มาขอเอาข้าว เกลือ ส้มผัก ส้มหมู  ฯลฯเมื่อได้ของที่ต้องการไปแล้วนางสอก็จะทำหน้าที่ให้พรแก่เจ้าบ้าน จากนั้นเจ้าบ้านก็จะเอาน้ำวิดใส่ผู้ที่เข้ามาร่วมขบวน ทำเช่นนี้จนครบทุกหลังคาเรือน

ระหว่างแห่นั้นผู้ที่ถือเครื่องเซ่นสรวงจะต้องดูแลมิให้ตกหล่นลงพื้น หากผู้ใดทำหล่นเสียหายจะถูกปรับสินไหม  แต่ถ้าดูแลอย่างดีก็จะได้ส่วนแบ่งจากเครื่องเซ่นนั้น

เมื่อขบวนแห่มาถึงริมน้ำหง่า  ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม  ก็จะจัดตกแต่งเครื่องสังเวย หันโตเงือกขนานกับแม่น้ำ  ส่วนคนในพิธีจะหันหลังให้กับแม่น้ำ เปิดห่ออาหาร รินเหล้า นางเสนจะกล่าวคำเสนสอฝน เชิญเจ้าวังน้ำ เจ้าวังท่า เจ้าวังจา เจ้าวังฝาย เงือก งู ทุกวังทุกถ้ำ ฯลฯ (วัง คือ ที่น้ำลึก) มากินเครื่องเซ่นสังเวย และขอให้ฝนตกไหลเต็มน้ำเต็มท่า อุดมสมบูรณ์

เมื่อกล่าวเสร็จ นางเสนจะดื่มเหล้า แล้วทำพิธีเสี่ยงทาย โดยใช้ติ้วไม้ไผ่สองอัน (หยิน-หยาง/คว่ำ-หงาย)  เคาะพื้นสองครั้งแล้วโยน  เมื่อคำทำนายออกมาว่าดี ชาวบ้านก็จะโห่ร้องดีใจ “ฟ้ามาเซอ ฝนลินมาเซอ”   ตีฆ้องตีกลองเฉลิมฉลองยินดี  ชาวบ้านก็จะยกเอาโตเงือกไปลอยในแม่น้ำ  แล้วพากันเล่นน้ำ สาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน

หลังจากลอยโตเงือกแล้ว ผู้อาวุโสของหมู่บ้านก็จะแบ่งเครื่องเซ่นให้กับผู้ที่มาร่วมพิธีจนทั่วถึง ส่วนนางเสนและนางสอจะได้เหล้าไปคนละขวด  

เมื่อสิ้นสุดพิธีเสน ก็จะมีการฉลองด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน ดูดเหล้าไห ล้อมวงฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนาน โดยมีการละเล่นประกอบ คือ ให้ผู้ชายสองคนออกมาหยิบเสื้อผ้าของผู้หญิงที่กองอยู่กลางวงฟ้อนแล้วแต่งกาย ฟ้อนรำ ทำกริยาตลกขบขัน เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้วก็แยกย้ายกัน เพื่อเตรียมตัวมาร่วมเฉลิมฉลองในเวลากลางคืนอีกครั้ง

นาขั้นบันไดมูกางจ่ายนาขั้นบันไดที่สวยที่สุดในเวียดนาม (ติด 1 ใน10 นาขั้นบันไดที่สวยที่สุดในโลก)
ในห้วงเวลาที่นาข้าวแบบขั้นบันไดสวยที่สุด(ข้าวกำลังเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง)

"ไปเมืองลอจั้วเป้า เข้าถ้ำแลหลอมสาว” บันทึกคนเดินทาง : เรื่องเล่า “ประเพณีการอยู่ถ้ำ” ที่เมืองลอ

บันทึกนี้ ผมเขียนอยู่ในหนังสือ ผู้ไท ลูกแถน ภาค 2 สืบค้นผู้ไทนานาชาติ ยังหาอ่านได้ครับ

เล่มนี้เขียนเรื่องไทดำมากที่สุด ทั้งไทดำเมืองแถง(เดียนเบียน) เมืองลา (เซินลา) และ เมืองลอ(เหงียะโล) รองมาเป็นเรื่องไทขาว เมืองไล เมืองเติ๊กและเมืองสาง(หมกโจว) นอกนั้นเป็นเรื่อง ไทลื้อ ลาวลื้อและลาวน้อย(ซึ่งเรียกตัวเองว่าผู้ไท อีกชื่อหนึ่ง)

……..

ในครานั้น ผมรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เดินทางไปเมืองลอ (Mường Lò หรือ Nghĩa L ) แคว้นสิบสองจุไท   ประเทศเวียดนามตอนเหนือ

อ่านหนังสือประวัติสิบสองจุไท

ของอาจารย์ ดร.ภัททิยา ยิมเรวัติ แล้วเร่งอยากไปเห็นเมืองลอให้เร็ว ๆ ความน่าสนใจ นอกจากจะได้ไปดู “น้ำตกตาดผีไฟ” สถานที่ส่งดวงวิญญานคนตายสู่เมืองฟ้าเมืองแถน

ตามความเชื่อของกลุ่มผู้ไต (ไทดำ)แล้ว

ผมอยากไปดูชุมชน ที่มีประเพณี “การอยู่ถ้ำ” เมื่อรู้วันเวลาที่เขาจัดกิจกรรมตามประเพณีนี้ ว่ามีเมื่อไหร่แล้ว จะได้หาเวลาไปร่วมประเพณีที่น่าสนใจนี้

ในงานเขียนของอาจารย์ ดร.ภัททิยา ยิมเรวัติ ได้กล่าวถึงประเพณี “การเข้าถ้ำ” ……

ตามตำนานของชาวไทในเวียดนามว่า……

แต่เดิมนั้นชุมชนจะมี “ประเพณีการอยู่ถ้ำ”

ซึ่งจะเริ่มหลังจากว่างจากการทำไร่ทำนาแล้ว ประเพณีนี้จะอนุญาตให้ผู้หญิงผู้ชายไปพบกันในถ้ำ และสามารถไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกันได้ “ประเพณีการเข้าถ้ำ” นี้ ยังพบเป็นข้อความบันทึกไว้ในเอกสารโบราณของผู้ไต (ไทดำ) ว่า

“ไปเมืองลอจั้วเป้า เข้าถ้ำแลหลอมสาว”

ประเพณีนี้ ยังคงยึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ อาจารย์ ดร.ภัททิยา ยิมเรวัติ ได้ไปเก็บข้อมูลสนาม ที่เมืองลอและที่เมืองลาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ชาวผู้ไต (ไทดำ) ยังได้พาไปดูถ้ำที่เป็นที่พบกันของชายหญิง และได้เล่าถึงฮีตปฏิบัติ เรื่อง “การเข้าถ้ำ” ที่ยังคงปฏิบัติ อยู่จนถึงทุกวันนี้

อาจารย์ ดร.ภัททิยา ยิมเรวัติ ได้อ้างถึงเอกสาร บันทึกของนักวิชาการต่างประเทศ

โดย Henri Roux ที่ได้เขียนถึง “ประเพณีการเข้าถ้ำ” ในบทความเรื่องคนไท ว่า…..

“..บนเส้นทางระหว่างเมืองลอ และกวินห์ญาย ใกล้ๆกับแม่น้ำดำ ทั้งสองฟากฝั่งเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ บริเวณตรงกลางนั้น จะมีแนวเขาทอดยาวและมีถ้ำอยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่พิเศษ ที่ผู้หญิงและผู้ชายจะมาพบกัน และมีเพศสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยในสังคมของชาวไท มีวันพิเศษที่กำหนดโดยหมอมด ซึ่งมักจะเป็นหลังช่วงปีใหม่

ตามประเพณีไทดำแล้ว หญิงและชายทุกคนจะรับทราบ กำหนดวัน และมารวมกันที่ถ้ำแห่งนี้ การเลือกคู่จะไม่มีการจองคู่ไว้ก่อน

ดังนั้นผู้ที่มาร่วมในประเพณีก็จะไม่ทราบว่า

จะเลือกได้ผู้ใดมาเป็นคู่ของตน

จะต้องมีการเสี่ยงทาย ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ประเพณีนี้ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไท ตั้งแต่มีชีวิตขึ้นมาบนโลกทีเดียว….

ประเพณีการเข้าถ้ำเป็นเหมือนกับการทำนายถึง

ความอุดมสมบูรณ์ ของผู้คนในชุมชนด้วย

โดยกล่าวว่า….

ถ้าแม้นว่าแม่เฒ่าเสี่ยงเลือกคู่ได้ผู้ชายหนุ่ม

ทำนายได้ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรง

ทำการเพาะปลูกได้พืชผลดี และมีความร่ำรวย

แต่ถ้าเป็นกรณีตรงกันข้าม

ถ้าแม่เฒ่าเสี่ยงเลือกได้คู่ที่เป็นคนเฒ่าคนแก่เหมือนตน

ก็จะหมายความว่า จะมีโรคถัยไข้เจ็บ การเก็บเกี่ยวข้าวจะเสียหาย รายได้จะลดลง…”

ในอดีตตั้งแต่ครั้งโบราณ เนื่องจากเป็นสังคมแยกกันอยู่หญิงชาย ดังคำโบราณว่า “หญิงต่อฮาย ชายต่อด้ำ “ หมายถึงว่าหลังประเพณีการเข้าถ้ำ เมื่อมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นมา ถ้าเป็นเพศชาย ก็ต้องไปอยู่กับสังคมผู้ชาย หรือถ้าเป็นเพศหญิง ก็ต้องอยู่กับทางฝ่ายหญิง เพราะในสมัยโบราณนั้นมีการแยกเพศกันอยู่ชัดเจน

ทั้งนี้ กลุ่มชนดั้งเดิมแต่โบราณ ได้มีการเลือกใช้ สัญลักษณ์แทนกลุ่มของตนโดยกลุ่มฝ่ายหญิง คือ “ฮาย” กลุ่มฝ่ายชาย คือ “ด้ำ”

จากตำนาน “ประเพณีการอยู่ถ้ำ” นี้ จะมีส่วนคล้ายคลึงกับ ตำนานเมืองลับแล ของไทยเรา ซึ่งมีคำบอกเล่าว่าเวลามีงานประเพณีการอยู่ถ้ำ จะมีสาว ๆ ที่แต่งตัวสวยงามดุจเทพธิดานางฟ้า มาร่วมงานด้วย โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าพวกนางมาจากบ้านเมืองใด

เมื่อได้ทราบตำนานประเพณีการเข้าถ้ำนี้ แล้ว อาจทำให้ชายหนุ่มทั้งหลายเมื่อได้ฟังตำนานแล้ว

อาจมีความปรารถนาที่จะไปเยือนชุมชนแบบนี้สักครั้ง จะได้ลองเสี่ยงทาย ซึ่งอาจได้พบกับความโชคดี

แต่ก็มีน้อยคนที่จะมีบุญวาสนาได้ไปพบไปเห็น

เหมือนในเรื่องเล่าตาม “ตำนานประเพณีการอยู่ถ้ำที่เมืองลอ”

…….

เพื่อนนักวิชาการชาวเวียดนาม บอกผมว่า บริเวณเมืองลอ ต่อเนื่องตลอดแนวสองฝั่งลุ่มแม่น้ำแดง (แม่น้ำต่าว) มีคนไทอยู่มาเนิ่นนานกว่า 1,500-2,000ปี มาแล้ว แต่ต่อมาได้ผู้นำคนไทจาก “เมืองโอมเมืองอาย” (บริเวณมณฑลยูนนานปัจจุบัน) นำโดยท้าวเงินและท้าวสรวง ได้อพยพผู้คนมาเป็นผู้นำปกครองในเขตเมืองลอ (มาตามแม่น้ำต่าง หรือแม่น้ำแดง) ได้กลายเป็นต้นกูล ผู้นำไทดำ ผู้ปกครองเมืองลอ(ต้นตระกูลสิงลอ) ต่อมาผู้ท้าวตระกูลสิงลอนี้ ได้ขยายบ้านเมือง ไปปกครองเมืองลา เมืองแถง เมืองถาน (เมืองทานเอวียน) และเมืองหม้วยในเวลาต่อมา เมืองลอจึงมีความสำคัญสำหรับพี่น้องไทดำ

ที่เมืองลอ ยังมีตาดผีไฟ สถานที่ส่งวิญญานคนตายที่มีเชื้อสายไทดำจากทั่วโลกไปแถนเมืองฟ้า ผ่านเขากุมเขางอขึ้นเมืองฟ้า ไปอยู่กับผีแถน

ใกล้ๆ เมืองลอก็มีตำนาน นาน้อยอ้อยหนูด้วย ดังนั้นตำนานนาน้อยอ้อยหนู จึงมีหลายแห่ง มีกับคนไทหลายกลุ่ม ตำนานนาน้อยอ้อยหนู ที่เมืองแถงและเมืองควาย ก็มี 3 ที่ คือ  

1. ที่จากเมืองลอ(ห่างออกไปประมาณ 17 กิโล)

2. เป็นนาน้อยอ้อยหนูที่ เมืองแถนเก่า(ตามตำนานของกลุ่มไท ลาวเก่าและผู้ไท) บริเวณใกล้บ้านสามหมื่น ห่างจากเมืองแถง(เดียนเบียนฟู) ประมาณ 20 กิโลเมตร

และ

3. แห่งที่สาม ที่เมืองควาย

เมืองลอขึ้นชื่อในเรื่องการจัดงานแซวของ(รำวง)ซึ่งจัดเป็นงานใหญ่จัดในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง(ฤดูหนาว) ของทุกปี งานนี้ผู้คนจากบ้านเมืองต่างๆ ก็มาร่วมงาน หนุ่มๆ ต่าง อยากเป็นเขยเมืองลอกัน

แต่สำหรับเรื่อง ตำนาน/ประเพณีการเข้าถ้ำ ทุกวันนี้ ไม่มีใครสนใจสืบสานประเพณีนี้กันแล้ว

ภาพ1 ถ่ายกับอาจารย์ลอ วัน เบี๋ยน ผู้นำทางจิตวิญญาณไทดำเมืองลอและภรรยาของท่าน ตอนขอเป็นลุเฮียน(ลูกศิษย์)

ภาพ2 ตาดผีไฟ สถานที่ส่งวิญญาณคนตายขึ้นเมืองฟ้าเมืองแถน ผ่านเขากุมเขางอ

ภาพ3 และ4 งานแซวอง งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของไทดำเมืองลอ

เขยไทดำเมืองราชบุรี บันทึก (ผมคนผู้ไทแต่ลูกสาวผมมีเชื้อสายไทดำครับ)

เลขที่ 3 ม. 5 ต.เหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 46110

โทร: 096-196-5169064-745-4629

อีเมล: [email protected]

Copyright © 2022 หจก.789 รุ่งเรืองทัวร์. All rights reserved.