นครวัด นครธม(ปราสาทบายน) ปราสาทตาพรมและปราสาทบันทายสรี
พักโรงแรม 4 ดาว
ทริปวันหยุด สกลนคร กาฬสินธุ์(เขาวง กุฉิฯ) ร้อยเอ็ด(โพนทอง เสลภูมิ) ยโสธร -เสียมเรียบ
ทัวร์ 2 วัน 1 คืน เดินทาง 25-26 มีนาคม 2566
789 รุ่งเรืองทัวร์ ขอนำเสนอทัวร์กัมพูชา
บริการอาหารรสเลิศ อิ่มอร่อยด้วย บริการทีมงานคุณภาพ ร้องเพลงคาราโอเกะตลอดการเดินทาง
รับ- ส่งที่สกลนคร-กาฬสินธุ์-ยโสธร เข้ากัมพูชา ทางด่านช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ
อัตราค่าบริการ 7,998-
See Angkor Wat and Die….. ไปนครวัด-นครธม สักครั้งในชีวิต!
ไปให้ได้เห็นเป็นบุญตาก่อนตายตาหลับ
คำที่กล่าวไว้โดย Arnold Joseph Toynbee นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีชาวอังกฤษ คงหมายถึง ควรไปชมนครวัดให้ได้ซักครั้งในชีวิตก่อนตาย หลังจากได้เห็นความงดงามและยิ่งใหญ่อลังการของนครวัด แหล่งมรดกโลกที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอประวัติศาสตร์ ความขลัง ความเก่าแก่ ที่แฝงไปด้วยความสวยงามจากสถาปัตยกรรมอันประณีตของการแกะสลักหิน และความอลังการงานสร้างมากมายของนครวัด-นครธม และที่สำคัญมันอยู่ไม่ไกลจากบ้านเราแค่ประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้านนี่เอง เราก็ควรจะไปเห็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนี้ด้วยตาตัวเองกันนะ
นครวัด
หากจะพูดถึงการไปเที่ยวกัมพูชาแล้ว สิ่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ ต้องไปชื่นชม ปราสาทนครวัด กันสักครั้ง ปราสาทนครวัด
เป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ถูกบันทึกให้เป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ
“เมืองพระนคร” ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมร ในสมัยที่ยังรุ่งเรือง ในอาณาบริเวณปราสาทอันกว้างใหญ่
ได้ถูกก่อสร้างด้วยหินทรายขนาดมหึมา นำมาเรียงรายต่อกันและสลักลวดลายอย่างงดงาม กว่าจะได้หินมาแต่ละก้อนต้องชักลาก
มาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปถึง 50 กิโลเมตร ต้องใช้แรงงานคนและสัตว์มานับไม่ถ้วน ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน
ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี การจะนำหินขนาดใหญ่แต่ละก้อนมาสร้างเป็นปราสาทที่งดงามได้ขนาดนี้ จะต้องมีการวางผังแบบแปลน
ในการก่อสร้างมาเป็นอย่างดี ซึ่งถือได้ว่าเป็นฝีมือของวิศวกรชั้นเอกในสมัยนั้นกันเลยทีเดียว
ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล ล้อมรอบด้วยปราสาท 5 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบตาม
แบบอย่างของมหาสมุทรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ กำแพงด้านนอกล้วนแต่เป็นงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของ
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทร
ด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย ลองหาดูกันให้ดีๆ
จะมีนางอัปสรที่ยิ้มเห็นฟันเพียงองค์เดียวเท่านั้น
ปราสาทนครวัดได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึง
ปัจจุบัน และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ
ที่มีนักท่องเที่ยวกัมพูชา แห่เข้ามาชมปราสาทหินนครวัด-นครธม กันอย่างคับคั่ง มีคนเดินเข้าออกตั้งแต่เช้าถึงเย็น อย่างไม่ขาดสาย
นครธม(ปราสาทบายน)
เที่ยวกัมพูชาชมนครวัดกันแล้ว ใกล้ๆ กันนี้ท่านจะได้พบกับความอัศจรรย์ของ ปราสาทบายน ชึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนครธม นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย สิ่งที่อัศจรรย์ของปราสาทแห่งนี้คือ ยอดของปราสาททั้ง 54 ยอด เป็นหินทรายที่ถูกแกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร หันหน้า ออก 4 ทิศ รวมทั้งหมด 216 หน้า ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย ซึ่งในปัจจุบันได้สึกกร่อนไปตามวันเวลา และพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวกัมพูชาหลายคนที่เยี่ยมชมปราสาทบายนแล้วต่างพากันนับจำนวนพระพักตร์กันว่าครบหรือไม่ และโดยรอบปราสาททั้งสี่ด้านนั้น ปรากฏภาพแกะสลักนูนต่ำ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่มีอายุนับพันปี ประตูด้านทิศใต้ ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล
ปราสาทบายน เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณใจกลางนครธม สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 12 หรือต้นศตวรรษ
ที่ 13 เป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลังจากที่พระองค์ได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา ออกจากอาณาจักรเขมรได้สำเร็จ นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก มีความสลับซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้าง และความหมาย
เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแคราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษเนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้ายิ้มหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 47 หอลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ
บางหอจะมี 3 หรือ 2 ทิศแต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคารจะมีหลายหน้า
ปราสาทตาพรหม
หลังจากนั้นนำท่านสู่ปราสาทตาพรหม (เขมร: ប្រាសាទតាព្រហ្ម) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เป็นปราสาทหินในยุคท้าย ๆ ของอาณาจักรเขมร กษัตริย์สมัยนั้นสนับสนุนให้มีการสร้างปราสาทนี้เป็นพุทธศาสนสถาน ซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก การดูแลปราสาทต่าง ๆ นั้นรัฐบาลได้ทำการตัดต้นไม้ออกจากปราสาทอื่น ๆ เพราะกลัวว่าปราสาทจะล้มลงหากต้นไม้ใหญ่โตขึ้นมาก แต่สำหรับปราสาทตาพรมนั้นรัฐบาลมีแนวคิดที่จะคงต้นไม้ไว้ให้เหมือนช่วงโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นบนปราสาทต่าง ๆ จึงกลายเป็นลักษณะเด่นของปราสาทตาพรหมที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก
ในช่วงกษัตริย์ที่นับถือฮินดูได้อำนาจแทนกษัตริย์ที่นับถือพุทธ จึงให้มีการทำลายปราสาทตาพรมเพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรมจึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้ามาเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าการซาบซึ้งในสถาปัตยกรรม
นอกจากปราสาทนครวัด และปราสาทบายน ที่นักท่องเที่ยวกัมพูชานิยมไปเยี่ยมชมนั้น ยังมีปราสาทอีกแห่งหนึ่งที่สวยงามไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ปราสาทตราพรหม นั่นเอง ซึ่งปราสาทตาพรหม มีเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ตรงที่ เป็นปราสาทที่ซ่อนความอลังการอยู่ในป่าที่ปกคลุมด้วยต้นไม่ครึ้ม เคยถูกทิ้งรกร้างนานจนเถาวัลย์พันเกี่ยว และมีต้นไม้ขนาดใหญ่คือต้นสะปง ออกรากคร่อมปรกคลุมปราสาท รากไม้ทำให้ปราสาทปรักหักพังแห่งนี้มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ดูคลาสสิก เป็นอย่างมาก บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของต้นไม้ที่มีอายุนับร้อยปี ซึ่งนักท่องเที่ยวกัมพูชา เมื่อได้มาพบกับบรรยากาศของปราสาทตาพรหมแล้ว ต้องตะลึงกับความอลังการของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมาเกาะเกี่ยวปราสาทไว้อย่างลงตัว ทำให้ดูลึกลับ สวยงาม ไม่เหมือนปราสาทที่อื่นๆ ที่น่าแปลกใจอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ภาพแกะสลักเป็นรูปไดโนเสาร์ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในสมัยนั้นมีผู้พบเห็นไดโนเสาร์แล้วหรืออย่างไร นอกจากนี้ ปราสาทตาพรหม เป็นที่ปรากฏให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็น จากภาพยนตร์หลายๆ เรื่องในฮอลลีวูด ไม่ว่าจะเป็น Kingkong , Indiana Jones และล่าสุดในเรื่อง Tomb Rider อีกด้วย
ปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรี” เป็นอีกหนึ่งปราสาทที่ถือว่าเป็นไฮไลต์ของการมาเยือนเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา นอกจาก
“ นครวัด” – “ นครธม ” – “ ปราสาทตาพรม ” ทั้งนี้ เนื่องจากหินทรายสีชมพูเนื้อละเอียด การจำหลักลายบนหินทรายงดงาม
ละเอียดลออ อย่างไม่มีปราสาทใดเหมือน จนได้รับการขนาดนามว่าเป็นปราสาทแห่งความรัก
“ปราสาทบันทายสรี” เป็นปราสาทนอกเมืองพระนคร ส่วนปราสาทบายน ปราสาตาพรม และนครวัด เป็นประสาทในพระนคร แม้ว่าจะปราสาทบันทายสรีจะมีขนาดเล็ก แต่มีรายละเอียดมากมาย บรรยายไม่หมด แต่ถือว่าเป็นปราสาทเก่าแก่ ก่อนยุคนครวัด และงดงามที่สุดในบรรดาปราสาทหินทั้งหลายในอาณาจักรเขมรโบราณ ถูกจัดให้อยู่ในราว พ.ศ.1510-1550 ถึงแม้จะมีอายุกว่าพันปีแล้ว แต่ลวดลายยังคงความคมชัดเหมือนเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ
ปราสาทบันทายสรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมราฐไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมราฐในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร
ท่องสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ณ ดินแดนขอมโบราณ นครวัด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกไปกับ 789รุ่งเรืองทัวร์
วันออกเดินทาง ; 24 มีนาคม 2566
21.00น. คณะพร้อมกัน และออกเดินทางจาก ม.ราชภัฎสกลนคร มุ่งหน้า อ.ภูพาน(จ.สกลนคร) แวะรับ อ.นาคู อ.เขาวง อ.กุฉินารายณ์ (จ.กาฬสินธุ์) ผ่านแวะรับ อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ (จ.ร้อยเอ็ด) อ.เมือง ยโสธร และแวะรับที่ อ.ราษีไศล (จ.ศรีสะเกษ)
วันที่ 1 : วันที่ 25 มีนาคม 2566
05.00น. รับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหาร ใกล้ด่านชายแดนช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
07.00น. ไกด์กัมพูชารับคณะที่ด่านชายแดนช่องสะงำ แล้วออกเดินทางสู่จังหวัดอุดรมีชัย
เดินทางไปสู่จังหวัดเสียมเรียบประเทศกัมพูชาโดยรถปรับอากาศ
10.00น.นมัสการ ขอพรศาลเจ้าเจ๊กเจ้าจอมสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเสียมเรียบ
12.00น. รับประทานอาหาร กลางวัน ร้านชื่อ TONLE SAP
13.00น. นำท่านเดินทางสู่ โตนเลสาบ ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ให้ท่านได้ล่องเรือชมภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวประมงพื้นเมืองเขมร ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบรวมกับคนเวียดนาม
16.00น. ซื้อตั๋ว เพื่อเข้าชมปราสาทต่างๆ ในวันรุ่งขึ้นและชมตลาดเมืองเสียมเรียบ
18.00น. รับประทานอาหารเย็น ณ ภัตตาคารเป็นอาหารบุพเฟ่ต์เลือกตามใจชอบมีอาหารให้เลือกสารพัดอย่าง พร้อมชมการแสดงนางอปัสรา
หลังรับประท่านอาหาร นำท่านเข้าสู่โรงแรมที่พัก ระดับ 4 ดาว
อิสระพักผ่อนตามอัธยาศัย
พักโรงแรม ANGKOR HOLIDAY หรือ โรงแรมอื่น ๆ ระดับ 4 ดาว เทียบเท่า
วันที่ 2 : วันที่ 26 มีนาคม 2566
08.00น. เข้าชมปราสาทตาพรม – นครธม(ปราสาทบายน – ลานช้าง)
12.00น. รับประทานอาหารกลางวันที่ Tonle Chatomuk Restaurant
13.00น. เข้าชมบันทายสรี – นครวัด
16.00น. เดินทางกลับทางด่านชายแดน เสียมเรียบ – ช่องจวม – ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
18.30น. ไกด์ส่งคณะขึ้นรถกลับภูมิลำเนาไทยด้วยความปลอดภัยและความทรงจำอันดีงามในทริปนี้
หมายเหตุ รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศรัย ที่อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
21.00น. ถึง อ.เมือง จ.ยโสธร
22.30น. ถึง อ.กุฉินารายณ์ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์
24.00น. ส่งคณะที่ หน้า ม.ราชภัฏสกลนคร สกลนคร
อัตราค่าบริการ
ค่าบริการคิดเป็นเงินบาท / ท่าน | จำนวนผู้เดินทาง 30 – 40 ท่าน | พักเดี่ยวจ่ายเพิ่ม |
7,998 บาท | 600 บาท | |
หมายเหตุ | พักที่โรงแรม ANGKOR HOLIDAY Hotel |
ค่าทัวร์รวม | ค่าทัวร์ไม่รวม |
ค่าห้องพักโรงแรมระดับ 4 ดาว 1 คืน ( พักห้องละ 2 ท่าน พักเดี่ยวจ่ายเพิ่ม 600 บาท) | ค่าใช้จ่ายส่วนตัว |
ค่ายานพาหนะในการนำเที่ยวตารายการ | ค่ามินิบาร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
ค่าอาหารตามรายการ | ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% กรณีออกใบเสร็จรับเงินในนามนิติบุคคล |
ค่าบริการของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น พูดภาษาไทยได้ | ค่าแจ้งเข้า – ออกประเทศไทยสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทา ต่างด้าว |
ค่าน้ำมัน / ผ้าเย็นตลอดทริป | |
ค่าผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง | ค่าขึ้นบอลลูนชมนครวัด นครธม 15 USD/ท่าน |
ค่าทิปไกด์ ตลอดทริป 300- ต่อผู้เดินทาง 1 ท่าน |
หมายเหตุ
- ค่าบริการต่อท่านคิดเป็นเงินบาท
- รายชื่ออาหาร / ภัตตาคารที่จัดไว้ให้ อาจเปลี่ยนแปลงได้เพื่อให้ท่านได้รับประโยชน์สูงสุด
เอกสารประกอบการเดินทาง
- หนังสือเดินทางไทยต้องไม่หมดอายุและมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับจากวันเดินทาง
- บัตรประจำตัวประชาชน ( สำหรับนักท่องเที่ยวไทย )
เงื่อนไขการจอง
- กรุณาวางเงินมัดจำท่านละ 50% หรือจำนวนเงิน 4,000 บาท/ท่าน โดยการโอนเข้าบัญชีที่ทางบริษัทกำหนดให้
- ค่าทัวร์ส่วนที่เหลือ ชำระก่อนการเดินทาง 15 วัน
เงื่อนไขการยกเลิก
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการคืนมัดจำทั้งหมดในทุกกรณี
- ยกเลิกการเดินทาง 7-14 วัน ขอคิดค่าใช้จ่าย 80% ของราคาทัวร์ในทุกกรณี
- ยกเลิกการเดินทาง 1-6 วัน บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินมัดจำในทุกกรณี
อัตราค่าบริการ 7,998-
รับ- ส่งที่ สกลนคร-กาฬสินธุ์-ยโสธร
789 รุ่งเรืองทัวร์ นำทริปนครวัด นครธม ระหว่าง วันที่ ๔-๖ เมษายน ๒๕๖๓
จากการที่ได้อ่านทบทวน หนังสือเล่ม “ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาวและขอม, และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ”
ของ อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ และอ่านงานเขียนของอาจารย์ธีรภาพ โลหิตกุล “๗๒ ปี จิตร ภูมิศักดิ์ กับตำนานแห่งนครวัด ” ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “ คือ…คนดลใจ” อนุสารอสท. ฉบับกันยายน ๒๕๔๕ ก่อนการเดินทางจึงอยากนำมาแบ่งปัน ณ ที่นี่……………..
นครวัด นครธม และโบราณสถานอื่นๆ หลายคนที่เคยไปมาแล้วต่าง ยอมรับว่า นครวัดสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์และเป็นหนึ่งในมรดกโลก ดังที่นายอาร์โนลด์ ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวประโยคอมตะไว้ว่า See Angkor and die หรืออย่าเพิ่งตายหากยังไม่ได้เห็นนครวัด ไปนครวัด นครธม และพนมกุเลน ไม่เพียงแค่ได้เห็น หากแต่ยังต้องค้นหาความหมาย ค้นหาคำตอบ ความเป็นมา ของ บรรพชนชาวสยาม ไปด้วย
อาจารย์ธีรภาพ โลหิตกุล ได้กล่าวถึง นครวัด โดยเฉพาะ ทัศนะของจิตร ภูมิศักดิ์ ต่อภาพจำหลัก นี่สยามกก ใน
“๗๒ ปี จิตร ภูมิศักดิ์ กับตำนานแห่งนครวัด อย่างน่าสนใจ ดังมีส่วนหนึ่งของงานเขียน ดังนี้
“ ตำนานแห่งนครวัด” เป็นหนึ่งในองค์ความรู้ว่าด้วยนครวัด ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานค้นคว้าชิ้นเยี่ยม โดยใช้ศิลปะ
การนำเสนอแบบ “ประวัติศาสตร์สนทนา” ทำให้อ่านสนุกเหมือนนั่งฟังคนคุยกัน แต่อัดแน่นด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สะท้อนภูมิรู้รอบด้านและปรีชาชาญด้านภาษาไทยและเขมรขั้นเอตทัคคะของผู้เขียน
อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์เขียนงานชิ้นนี้ในช่วงที่หารายได้พิเศษเป็นมัคคุเทศก์ของบริษัท บางกอก ทัวร์ และ เวิร์ลด์ แทรเวิล เซอร์วิส นำนักท่องเที่ยวชมปราสาทนครวัด ราว พ.ศ.๒๔๙๗–๒๔๙๘ ซึ่งหากย้อนไปดูปีที่ท่านเกิด คือ พ.ศ. ๒๔๗๓ เราตกตะลึงว่านี่คือผลงาน
ของชายหนุ่มวัยเบญจเพสเท่านั้น อีกทั้งยังมีสถานะเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านเพิ่งกลับเข้าไป
เรียนใหม่ หลังกรณีที่ถูกนิสิตกลุ่มหนึ่งจับโยนบกในปี ๒๔๙๖ ด้วยข้อหาว่าหนังสือของมหาวิทยาลัยที่อาจารย์จิตรเป็นสาราณียกร
มีเนื้อหาก้าวร้าว รุนแรง เอียงซ้าย
อัจฉริยะทางภาษาของอาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ แสดงไว้ชัดเจนที่สุดในผลงานอันลื่อลั่นชุด “ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว
และขอม, และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” ซึ่งอาจารย์จิตรเขียนขึ้นในระหว่างต้องโทษในข้อหา “มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ที่ทัณฑสถานลาดยาว ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๑–๒๕๐๗ โดยเฉพาะในหัวข้อว่าด้วยภาพ “กองทหารไทย” เดินนำหน้าทหารเขมรในขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ไปทำศึกกับชาวจาม ภาพนี้ประดับอยู่ที่ระเบียงปราสาทนครวัดด้านทิศใต้ โดยมีจารึกอักษรขอมโบราณกำกับไว้ว่า “เนะ สยำกุก” จึงเรียกกันโดยทั่วไปว่าภาพ “เสียมกุก” (ปัจจุบัน จารึกคำนี้ถูกกะเทาะหายไปในราว ๑๕ ปีที่ผ่านมา)
มีการตีความไปหลากหลาย ว่า “เสียมกุก” หมายถึง “สยามกุฎ” แปลว่า จอมทัพสยาม , บ้างว่าหมายถึง “สยามกุฏิ” คือ
“ห้องสยาม” แต่ที่ได้รับความเชื่อถือมากคือคำอธิบายของนักโบราณคดีสายฝรั่งเศส ที่ว่า “เสียมกุก” หมายถึง “เสียมก๊ก” คือชาวสยาม หรือกองทัพชาวสยามจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมาช่วยเขมรรบในฐานะ“ทหารรับจ้าง” หรือ “กองระวังหน้า”
อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ คัดค้านแนวคิดดังกล่าวของนักวิชาการระดับปราชญ์ทั้งไทยและเทศ อย่างศาสตราจารย์หลุยส์ ฟีโนต์ ปราชญ์ทางภาษาโบราณตะวันออกแห่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นักหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมาก
ในขณะนั้น โดยอาจารย์จิตรวิเคราะห์ว่า ตามหลักการอ่านอักษรขอมโบราณนั้น “เสียม” หมายถึง “สยาม” แน่นอน เพราะชาวเขมร
เรียกคนไทยว่า “เสียม” หรือ “เซียม” ตามจีนมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
แต่คำว่า “กุก” ในภาษาขอมโบราณ ต้องออกเสียงว่า “กก” คำจารึก “เนะ สยำกุก” จึงต้องอ่านว่า “นี่ เสียมกก” (ถ้าภาษาขอมเขียนคำว่า “กก” จะต้องอ่านออกเสียงว่า “กอก”) ดังนั้น ท่านตีความว่าทหารไทยในภาพนี้เป็นคนไทยจากลุ่มน้ำกก ปัจจุบันคือจังหวัดเชียงราย ซึ่งในสมัย ๙๐๐ ปีก่อนนั้นเป็นแอ่งอารยธรรมเชียงแสน มีอาณาจักรหิรัญนครเงินยางเจริญรุ่งเรืองภายใต้การนำของ“ขุนเจือง” พระราชบิดาพญามังรายมหาราช ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนาเชียงใหม่
ที่สำคัญคืออาจารย์จิตรโต้แย้งว่า ทหารไทยในภาพ “เสียมกก” มิใช่กองระวังหน้า เพราะยังกองทหารอีกกองหนึ่งซึ่งแต่งตัว
ต่างออกไปเดินนำหน้าอยู่ และมีจารึกอักษรขอมกำกับไว้ ซึ่งท่านถอดความได้ว่า “ข้าราชการฝ่ายทหารพรานแห่งเมืองเฌงชาล
ซึ่งนำชาวเสียมกุก” สรุปแล้ว ท่านตีความว่า “เสียมกุก” คือทหารไทยจากลุ่มน้ำกกที่ขุนเจื่องส่งมาช่วยทัพพระเจ้าสุริยวรมันรบกับจาม
ฉัน “มิตรร่วมรบ” เพราะต่างมีจามเป็นศัตรูร่วมกัน มิใช่ทหารรับจ้างหรือกองระวังหน้าแต่อย่างใด
ตราบจนวันนี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่า “เสียมกุก” คือใคร ? แต่ยอมรับกันว่าเหตุผลของอาจารย์จิตรมีความหนักแน่น น่าเชื่อถือที่สุด และเป็นงานค้นคว้าชิ้นสำคัญบทหนึ่งในหนังสือ “ความเป็นมาของคำสยามฯ” ที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย อย่าง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ยกย่องว่า “เป็นผลงานที่ใช้การค้นคว้าและวิเคราะห์ทางวิชาการอย่างยอดเยี่ยมที่สุด” และเป็นเหตุผลให้อาจารย์ฉ่ำ
ทองคำวรรณ ผู้เชี่ยวชาญภาษาเขมรแห่งกรมศิลปากร ถึงกับยอมรับว่า “จิตร ภูมิศักดิ์นี่แหละ ที่เก่งภาษาเขมรที่สุดในเมืองไทย”
(ตัดตอนมาจาก บทความ “๗๒ ปี จิตร ภูมิศักดิ์ กับตำนานแห่งนครวัด” ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “คือ…คนดลใจ” อนุสารอสท.
ฉบับกันยายน ๒๕๔๕ โดย ธีรภาพ โลหิตกุล)
มีจารึกอักษรขอมกำกับไว้ อ่านว่า “นี่ เสียมกก” อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ ท่านตีความว่า ทหารสยามในภาพนี้เป็นคนไทย จากลุ่มน้ำกก ปัจจุบันคือเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งในสมัย ๙๐๐ ปีก่อนนั้นเป็นแอ่งอารยธรรมเชียงแสน
มีจารึกอักษรขอมกำกับไว้ อาจารย์จิตร ภูมิศักดิ์ ท่านถอดความได้ว่า “ข้าราชการฝ่ายทหารพรานแห่งเมืองเฌงชาล ซึ่งนำชาวเสียมกุก”